เคยลองค้นหาคำเหล่านี้บนกูเกิล “นักศึกษา”, “นักเรียน”, “มัธยม” แล้วเจอภาพหรือเว็บที่ไม่เหมาะสมไหมครับ ซึ่งบางทีเราก็ไม่ได้ต้องการจะหาข้อมูลแบบนั้น แต่มันก็ยังขึ้นมาให้เห็นอยู่เป็นประจำ คำถามคือถ้าเราเห็นอย่างนั้นและก็รู้ว่ามันไม่เหมาะถ้าเด็กตัวน้อยๆ ของชาติบ้านเมือง แล้วเราจะทำอย่างไร ? เมื่อประมาณเดือนที่แล้วผมได้เข้าไปพูดคุยในกระทู้ ดาบสองคมระหว่าง Google Vs. Thailand ซึ่งพูดคุยกันเรื่องผลของการค้นหาเว็บและภาพที่กูเกิลชอบหลุดออกมาให้เห็นประจำเมื่อเวลาค้นหาเป็นภาษาไทย เวลานั้นก็สงสัยในใจว่าทำไมไม่ใช้ตัวกรอง SafeSearch กันเพื่อจะได้ไม่มีภาพแบบนั้นออกมา แล้วผมก็เริ่มค้นพบว่า SafeSearch นั้นไม่มีในกูเกิลภาษาไทย !! จากนั้นมาผมจึงติดต่อเข้าไปที่กูเกิลเพื่อเรียกร้องให้กูเกิลรองรับฟีเจอร์ SafeSearch ภาษาไทย และหลังจากใช้เวลาตามตื้ออยู่ 5 สัปดาห์ ตอนนี้เราสามารถใช้ SafeSearch เป็นภาษาไทยและเริ่มแจ้งรูปภาพหรือเว็บที่ไม่เหมาะสมเข้าไปที่กูเกิลได้ในที่สุด SafeSearch คืออะไร กูเกิลใช้ระบบที่มีความสลับซับซ้อนในการค้นหาข้อมูลและแสดงผล ซึ่งทั้งหมดทำโดยคอมพิวเตอร์ และต้องยอมรับว่าคอมพิวเตอร์เองก็ไม่ได้ฉลาดนักที่จะกรองข้อมูลที่ไม่เหมาะสมมาให้เรา กูเกิลจึงทำฟีเจอร์ SafeSearch ขึ้นมาเพื่อกรองข้อมูลเหล่านั้น และเปิดให้ผู้ใช้ร้องเรียนผลการค้นหาเข้ามาได้ โดยจะมีการเก็บฐานข้อมูลของเว็บและรูปภาพเหล่านั้นไว้อีกที่หนึ่ง เมื่อเรากดค้นหา ข้อมูลที่ออกมาก็จะถูกกรองก่อนที่จะแสดงผล (Filtering) โดยมาตรฐานแล้ว SafeSearch จะถูกเปิดใช้อยู่ตลอดเวลา เช่นถ้าคุณเข้าไปเล่นที่ร้านอินเตอร์เน็ต หรือไม่ได้เข้ากูเกิล account ไว้ SafeSearch ไม่มีใน […]