เชื่อว่าในการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ หลายคนอาจจะกำลังอยู่ในภาวะเดียวกันคือ “ไม่รู้จะเลือกใคร“
ก็แหม มองไปทางไหนก็มีแต่คนดีๆ ทั้งนั้น เลือกกันไม่ถูกเลยทีเดียว รักพี่เสียดายน้อง แต่ในเมื่อผู้ใหญ่เคยสอนเราไว้ว่า “ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน” เพราะงั้นค่าของพรรคการเมืองก็คงอยู่ที่ “ผลของนโยบาย“
เราลองมาดูว่าเมื่อ 4 ปีที่แล้ว พรรคการเมืองผู้จัดตั้งรัฐบาลทั้ง 2 พรรคได้เคยสัญญาว่าภายใน 4 ปีนี้จะให้อะไรกับเราบ้าง ส่วนจะทำได้จริงหรือไม่ .. คุณเท่านั้นที่เป็นคนตัดสิน (แทแด๊น !!)
หมายเหตุ: ทั้งสองพรรคไม่ได้บริหารรัฐบาลต่อเนื่อง 4 ปี ซึ่งก็อาจจะไม่ยุติธรรมนักหากจะบอกว่าพวกเขาทำไม่ได้ดั่งที่โม้ไว้
หมายเหตุ 2: นโยบายที่เป็นตัวหนาสีต่างๆ นั้น เกิดจาก ……… เกิดจากการใช้ tag html เพิ่ม bold และปรับสีใน style sheet เพื่อให้เกิด …. ความสวยงามขึ้น …. นั่นเอง …….
:: พรรคพลังประชาชน ::
สโลแกน: ทุกนโยบาย สำเร็จได้ ด้วยพลังประชาชน
นโยบาย: ฉบับย่อ ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2550
1.สร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้เป็นวาระแห่งชาติ พรรคพลังประชาชน จะยึดหลักความปรองดองสมานฉันท์ เพื่อนำความผาสุกและศักดิ์ศรี กลับคืนสู่ประเทศไทย
2.ฟื้นฟูประชาธิปไตย แก้ไขรัฐธรรมนูญ สร้างความเชื่อมั่นของไทยในเวทีโลก
3.ประกาศสงครามกับยาเสพติด รอบใหม่
4.กระตุ้นเศรษฐกิจ อัดฉีดเงินทุนในโครงการขนาดใหญ่ (MEGA PROJECTS) 1.5 ล้านล้านบาท
4.1 ยกเลิกมาตรการกันเงินทุนสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
4.2 รถไฟฟ้า 9 เส้นทาง 500,000 ล้าน เริ่มใช้ได้ใน 3 ปี เสร็จสมบูรณ์ใน 6 ปี ค่าโดยสารไม่เกิน 15 บาท ตลอดสาย
4.3 โครงการน้ำ 200,000 ล้าน ส่งเสริมโครงการตามพระราชดำริ เกี่ยวกับการกักเก็บน้ำ อนุรักษ์ดินแดน และป่าต้นน้ำ
4.4 โครงการ 100,000 ล้าน เพื่อเร่งสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 800,000 ล้าน เข้าประเทศ โดยประกาศปี 2551-2552 เป็นปีท่องเที่ยว มีเป้าหมายเพิ่มนักท่องเที่ยวจาก 14 ล้านคน เป็น 20 ล้านคน
4.5 โครงการที่พักอาศัย บ้านรถไฟฟ้า, บ้านบัณฑิต, บ้านรัฐสวัสดิการ, บ้านเอื้ออาทร, บ้านมั่นคง
4.6 วางโครงข่ายคมนาคม และระบบขนส่งสินค้าครบวงจร (โลจิสติคส์) เพื่อลดต้นทุนการขนส่งสินค้าและการเดินทางที่รวดเร็ว ปลอดภัย รถไฟรางคู่ พัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ พัฒนากองเรือพาณิชย์ไทย ถนนใยแมงมุมสู่ไร่นา
5.เพิ่มรายได้ลดรายจ่าย ขยายโอกาส ให้แก่ประชาชน
5.1 มั่นใจ ไม่ขึ้นภาษี
5.2 พักหนี้เกษตรกร ฟื้นฟูอาชีพ และสร้างรายได้ใหม่
5.3 พัฒนากองทุนหมู่บ้านเป็นธนาคารหมู่บ้าน เพื่อขยายเงินทุน หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท
5.4 SML 3แสน-5แสน-7แสน
5.5 OTOP ระยะที่ 2 สร้างมูลค่าเพิ่ม เร่งขยายตลาด และบทบาทของภูมิปัญญาชุมชน
5.6 ธนาคารประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเป็นเจ้าของกิจการ และแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ
5.7 เพิ่มสินเชื่อ SME โดยเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนของ SMEs Bank จำนวน 20,000 ล้านบาท
5.8 โฉนดและเอกสารสิทธิ พิชิตความจน คุ้มครองสิทธิที่ดินทำกิน โดยการออกเอกสารสิทธิให้ถูกต้องตามกฎหมาย
5.9 โคล้านตัว-แสนฟาร์ม ให้เกษตรกรจัดตั้งฟาร์มโคคุณภาพ ตามที่ได้ลงทะเบียนคนจนไว้
5.10 ประกันรายได้เกษตรกรให้มากกว่าลงทุน ผลักดันราคาสินค้าการเกษตรสำคัญ ด้วยการประกันราคาสูงกว่าต้นทุน
5.11 แรงงานไปต่างประเทศ บินก่อน ผ่อนทีหลัง โอกาสไปทำงานต่างประเทศ โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
5.12 เดินหน้า ผู้ว่าฯซีอีโอ เพื่อแก้ปัญหาประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ และครบวงจร
6.สร้างสุขภาพและความมั่นคงให้ประชาชน
6.1 ต่อยอด 30 บาทรักษาทุกโรค บัตรประชาชนรักษาทุกโรค ให้ครอบคลุมการรักษาและการบริการมากขึ้น
6.2 บัตรประกันสังคม ครอบคลุมทั้งครอบครัว มุ่งขยายสิทธิในการรักษาพยาบาลให้ครอบคลุมทุกครอบครัว
6.3 1 แพทย์ 1 อำเภอ, 2 พยาบาล 1 ตำบล, 3 คนดูแลผู้สูงอายุและพิการในหมู่บ้านให้ทุนการศึกษาแก่คนในท้องถิ่นได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาเป็นแพทย์, พยาบาล และผู้ดูแลผู้ป่วย อย่างทั่วถึง
6.4 ศูนย์กีฬาคือยาวิเศษ มีรถยนต์รับส่งผู้ป่วยประจำตำบล ให้ อสม.ดูแลรับผิดชอบ
7.การศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
7.1 เดินหน้าโครงการเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา เรียนก่อนผ่อนทีหลัง (ICL) กองทุน กรอ. มีเงินยืมเรียน ผ่อนคืนเมื่อมีงานทำ
7.2 เรียนฟรีอย่างมีคุณภาพมีงานทำระหว่างเรียน ให้นักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเรียนฟรี และแจกอุปกรณ์การเรียน หนังสือเรียน ชุดนักเรียนฟรี ส่งเสริมให้มีการทำงาน และหารายได้เพิ่มในระหว่างการศึกษา
7.3 แก้ไขปัญหาหนี้สินและบุคลากรทางการศึกษา
7.4 ศูนย์ซ่อมสร้างโดยนักศึกษาอาชีวะ (โครง การ Fix It) และพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อให้มีทักษะ พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน หรือเป็นผู้ประกอบการ
7.5 สร้างคลังความรู้ ศูนย์สร้างสรรค์งานออก แบบ อุทยานเพื่อการเรียนรู้
8.สร้างสังคมที่เท่าเทียม โปร่งใส มีความสุข และปลอดภัย
8.1 ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
8.2 เดินหน้าหวยบนดิน เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และสังคม
8.3 1 หมื่นล้าน เพื่อเสริมการมีส่วนร่วมในการรักษาความปลอดภัย ของชุมชน สนับสนุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเทียบเท่าข้าราชการ สนับสนุน รถยนต์ อุปกรณ์และเครื่องแต่งกายให้แก่ อปพร. ตำรวจบ้าน ชรบ.
9.จังหวัดชายแดนภาคใต้สงบสุข
9.1 สร้างสันติสุข และความปรองดอง โดยให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม
9.2 นิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ส่งเสริมการผลิตอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการส่งออก
9.3 เพิ่มโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง สอดคล้องกับความเชื่อทางศาสนา วัฒนธรรมประเพณี และระบบเศรษฐกิจ
10.กรุงเทพมหานครแห่งความสุข
10.1 รถไฟฟ้า 9 เส้นทาง งบประมาณ 500,000 ล้านบาท เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ชาวกรุงเทพฯ
10.2 ทางด่วนใยแมงมุม เชื่อมโยงเครือข่ายถนนระหว่างกรุงเทพฯ กับทุกภูมิภาค
10.3 โรงเรียนดี ใกล้บ้าน ให้โรงเรียนที่มีชื่อเสียง พัฒนาโรงเรียนในเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 50 เขตภายใน 4 ปี
10.4 กระตุกต่อมคิด กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์เด็กไทย เช่น อุทยานการเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ (สมิธโซเนียน กรุงเทพฯ) ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีแห่งชาติ 3 แห่ง งบประมาณ 10,000 ล้านบาท
10.5 สร้างลานกีฬา ให้เด็กๆ ได้เล่นกีฬา ทุกถนน ตรอก ซอก ซอย ที่มีที่ว่าง อาทิ ใต้ทางด่วนสถานที่ราชการ
10.6 ศูนย์ออกกำลังกาย (Fitness Center) และศูนย์เลี้ยงเด็กอ่อน (Day Care) สนับสนุนให้มีทั้งในส่วนราชการ และบริษัทเอกชน โดยมีส่วนลดภาษี
10.7 สนับสนุนชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพฯ ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านและชุมชน เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์
:: พรรคประชาธิปัตย์ ::
สโลแกน: วาระประชาชน
นโยบาย: ฉบับย่อ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2550
หมายเหตุ: เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งรัฐบาลในรอบหลัง จึงมีนโยบายเร่งด่วน 99 วันเข้ามาเพิ่ม แต่ขอยกเฉพาะนโยบายเมื่อ 2550 มาแทนเพื่อความเท่าเทียม
วาระประชาชนด้านนโยบายแก้ปัญหาความยากจน
– เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ควบคุมไม่ให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนไทย
– ลดราคาน้ำมัน ยกเลิกกองทุนน้ำมันทั้งหมด ทำให้ราคาน้ำมันในประเทศสะท้อนความเป็นจริง ปรับขึ้นหรือลดลงตามสภาวะตลาดโลก
– ลดราคาก๊าซหุงต้ม เก็บ “ภาษีพิเศษ” จากกำไรที่ได้จากการส่งออกก๊าซหุงต้ม ซึ่งได้เพิ่มสูงขึ้นมากตามราคาน้ำมันในตลาดโลก และนำรายได้ไปลดภาระของผู้ใช้ก๊าซหุงต้มในประเทศ
– ลดราคาไฟฟ้า ปรับสูตรการคำนวณค่าไฟ การสร้างโรงไฟฟ้าทุกประเภทในอนาคต จะกำหนดให้ กฟผ. ต้องเข้าร่วมประมูลแข่งขันกับเอกชนอย่างโปร่งใส และยุติธรรม
– กองทุนเศรษฐกิจพอเพียง จัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงในระดับหมู่บ้าน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกู้เงินไปลงทุนในโครงการเศรษฐกิจพอเพียงต่าง ๆ เงินสนับสนุนจากกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง
วาระประชาชนทางด้านการศึกษา
– ฟรี ค่าเล่าเรียน ให้เด็ก ๆ ได้เรียนฟรี 12 ปี จากชั้น ประถมศึกษา ปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ตลอดจนให้โอกาสทุกคนได้เข้า เรียนต่อในระดับอุดมศึกษาอย่างมีคุณภาพ คือ ทำงานเป็น สร้างงานได้
– ฟรี หนังสือแบบเรียน
– ฟรี นมและอาหารเสริมเด็กก่อนวัยเรียน
– ฟรี อนุบาลเด็กเล็กใกล้บ้าน
วาระประชาชนด้านนโยบายสุขภาพ
– ได้ยาดี มีคุณภาพ เพิ่มค่ารักษาพยาบาลจาก 1,659 บาท ต่อหัว เป็น 2,000 บาทต่อหัว จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลที่ได้ มาตรฐาน
– เพิ่มจำนวนแพทย์ในชนบท
– หมอประจำหมู่บ้าน ส่งแพทย์ออกไปให้บริการประชาชนเป็นประจำตามหมู่บ้านเดือนละครั้ง
– อสม.ประจำครอบครัว จัดอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ออกตรวจเยี่ยมประชาชนทุกครอบครัวสัปดาห์ละครั้ง
– เพิ่มค่าตอบแทน หมอ พยาบาล อนามัย และอสม.
นโยบายภาคใต้ (สันติสุข)
– ปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม – ทบทวนการใช้และแก้ไขพระราชกำหนดฯ
– แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 เป็นต้นให้มีการจัดตั้ง
“กองทุนซากาต”และองค์กรบริหารกิจการฮัจญ์
– ตั้งกองทุนเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบโดยมีกฎหมายรองรับ
– จัดตั้งศาลชาริอะห์ จัดการข้อพิพาทครอบครัวและมรดก
คืนความยุติธรรม / คนทำผิดต้องรับผิดชอบ
– จัดตั้ง ศอ.บต. + ให้เป็นศูนย์บริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ โดยมีกฎหมายรองรับ และให้ขึ้นรงกับนายกรัฐมนตรี
– ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการร่วมกับ ศอ.บต. + อย่างจริงจัง
– ส่งเสริมศักยภาพองค์กรปกครองท้องถิ่นในพื้นที่ให้มีศักยภาพและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
– จัดตั้ง “สภาพัฒนาเศรษฐกิจ” เฉพาะพื้นที่
– ฟื้นฟูการดำเนินการตามโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT-GT) รวม 5 จังหวัด
– จัดตั้ง “เขตพัฒนาพิเศษ พื้นที่ชายแดนภาคใต้” ให้สิทธิพิเศษทางธุรกิจ
การปฏิรูปการเมือง
เป้าหมาย
– การปฏิรูปการเมือง
– การปฏิรูปสื่อมวลชน
– การปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม/ระบบการศึกษา/ระบบราชการ
– เพิ่มการตรวจสอบถ่วงดุล
– สร้างความเข้มแข็งการเมืองภาคประชาชน
– ปฏิรูปจริยธรรมนักการเมือง
การปฏิรูปการเมือง โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
– เสนอ แก้ไข เพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ ม.313 คนกลางเข้ามา แก้ไข เพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ { ยกเว้นหมวด 1 (บททั่วไป) และ หมวด 2 (พระมหากษัตริย์) ห้ามแก้ไข }
– หลัก ความเป็นกลาง
– หลัก ความเป็นอิสระ
– หลัก การมีส่วนร่วมของประชาชน สรรหาจากฝ่ายต่าง ๆ 30 – 50 คนมาจาก
1 ผู้ทรงคุณวุฒิ / นักวิชาการ
2 ตุลาการ
3 ภาคประชาชน
กรอบระยะเวลาทำงาน
การปฏิรูปจริยธรรมนักการเมือง เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
– การเปิดเผยผลประโยชน์ทางธุรกิจของ ส.ส. และครอบครัว
– แก้ไข ก.ม. ให้คดีทุจริตไม่มีอายุความ
– แก้ไข ก.ม. ให้ประชาชนฟ้องคดีทุจริตได้เอง
– แก้ไข ก.ม. จำกัดเงินบริจาคพรรคการเมือง 10 ล้านบาทต่อ คนหรือนิติบุคคล/ต่อปี
– แก้ไข รธน. ม.209 ในเรื่องการจัดการหุ้นส่วนของ รมต. ให้ ครอบคลุมภรรยาและบุตร
– แก้ไข รธน. ให้เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจได้โดยใช้เสียง 1 ใน 10 ทั้ง รัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี
( ทำได้เลยโดยไม่ต้องรอคณะกรรมการฯ แก้ไข รัฐธรรมนูญ )
การสร้างความเข้มแข็งให้ภาคประชาชน เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
– เปิดให้ภาคประชาชนสามารถเข้าชื่อกันเสนอร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญได้
– องค์กรอิสระสิ่งแวดล้อมตาม ม. 56 ของรัฐธรรมนูญ
– องค์กรอิสระ คุ้มครองผู้บริโภค ตาม ม. 57 ของรัฐธรรมนูญ
– ประชาพิจารณ์
( ทำได้เลยโดยไม่ต้องรอคณะกรรมการฯ แก้ไข รัฐธรรมนูญ )
การปฏิรูปสื่อ
ความเป็นอิสระ
– ออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 41
– ยกเลิก ปรับปรุงกฎหมายที่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพใน การทำหน้าที่ของสื่อมวลชน
– สนับสนุนการให้สภาวิชาชีพควบคุมดูแลตนเอง
สื่อเพื่อประโยชน์สาธารณะ
– จัดตั้งช่อง 11 , สถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ เป็นสื่อ เพื่อประโยชน์สาธารณะทั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่น / กำกับ โดย “ คณะกรรมการบริหาร ” ที่เป็นอิสระ
– ITV กลับสู่ความเป็น TV เสรีตามเจตนารมณ์เดิม
– ส่งเสริม สื่อ วิทยุ – TV ขยายพื้นที่รายการเพื่อเด็ก สตรี และ ผู้ด้อยโอกาส อย่างเหมาะสม ทั้งความถี่และช่วงเวลา
โอกาสเป็นเจ้าของสื่อ
– การจัดสรรคลื่นความถี่อย่างโปร่งใส – เป็นธรรม
– สนับสนุนการเกิดขึ้นของสื่อที่หลากหลาย / แข่งขันอย่างเสรี
– วิทยุชุมชนต้องเป็นของภาคประชาชนเท่านั้น
การส่งเสริมคุณภาพสื่อ โดย
– องค์กรภาคประชาชนผู้บริโภคสื่อ
– กรรมการสิทธิมนุษยชน
– สภาวิชาชีพ กำกับ-ควบคุม “ จรรยาวิชาชีพ ”
– สร้างแรงจูงใจในการผลิตรายการคุณภาพ
– ใช้ระบบ Rating ที่เหมาะสมกับสังคมไทยมากำกับ
– เนื้อหาบางรายการ