ใช่ครับ ผมเคยได้มีประสบการณ์ สัมภาษณ์งานกับกูเกิล หนึ่งในบริษัทที่ขึ้นชื่อว่าน่าทำงานมากที่สุดในโลก แต่นั่นก็เป็นเวลาเมื่อ 3 ปีก่อนครับ
ด้วยความเป็นบล็อกเกอร์ก็ไม่ลืมที่จะจดบันทึกเหตุการณ์ในครั้งนั้นไว้ทุกขั้นทุกตอน ทำไมถึงโดนเรียกสัมภาษณ์ ขั้นตอนต่างๆ การเตรียมตัว คุยอะไรกันบ้าง เขียนเอาไว้ความยาวถึง 6 ตอนด้วยกัน
แต่เนื่องจากเพิ่งเข้างานที่บริษัทได้ไม่นาน ถึงแม้ว่าผมจะได้เล่าเรื่องนี้ให้ทางผู้ใหญ่ฟังไปแล้วก็ตาม แต่ด้วยเหตุผลส่วนตัวหลายอย่าง จึงได้เก็บบล็อกชุดนี้ไว้ โดยเปิดให้อ่านเฉพาะกลุ่มคนที่สนิทรอบตัวเท่านั้น
เนื่องในโอกาสดีที่กูเกิลได้ประกาศตั้งสำนักงานในประเทศไทยหลังจากที่ได้ข่าวมานาน และเรื่องนี้ก็ผ่านมานานถึง 3 ปีแล้ว ก็คิดว่าได้เวลาเหมาะสมที่จะมาแชร์ประสบการณ์ให้ได้ฟังกัน 😀
3 ปีที่แล้วผมออกจะ Alert นิดหน่อยนะครับ และการเขียนบล็อกในตอนนั้นก็เป็นการเขียนที่สดมาก สดถึงขนาดก่อนสัมภาษณ์ 10 นาทียังบล็อกอยู่เลย (55)
จากเดิม 6 ตอนดูแล้วยาวไป เลยขอรวมเป็น 2 ตอนนะครับ
ตอนที่ 1 – ขั้นตอนการเรียกสัมภาษณ์, ทำไมถึงถูกเรียกสัมภาษณ์, การเตรียมตัว
ตอนที่ 2 – วันสัมภาษณ์จริง(ทางโทรศัพท์), การแจ้งผล, เรื่องราวหลังจากนั้น
……………………………………………………………………………………………………………………
:: Fri 14 / 11 / 2008 – Googleezzz ::
วันนี้ผมได้รับอีเมล์ฉบับหนึ่งเพื่อขอสัมภาษณ์งาน … ส่งมาจาก Google !!
ไม่รู้จะอธิบายยังไงถึงความรู้สึกตื่นเต้นตอนที่ได้รับ .. อีเมล์ฉบับนี้ส่งมาจากแผนกบุคคลของกูเกิลที่สิงคโปร์ เนื้อความข้างในไม่ได้บอกรายละเอียดมากนัก เพียงขอให้เราส่งวันเวลาที่สะดวกเพื่อพูดคุยกัน แล้วทางกูเกิลจะส่งอีเมล์มาคอนเฟิร์มเวลาอีกที
ผมยังไม่ได้ตอบอะไรกลับไป .. แน่นอนผมเองก็ต้องให้เกียรติบริษัทที่ทำอยู่ด้วยตอนนี้ เพราะผมเองก็ไม่ได้คิดจะออกจากงาน .. แต่เฮ้ย !! นี่มัน Google นะ .. เชื่อได้เลยว่าเป็นใครถ้าได้เรียกสัมภาษณ์จาก Google ก็ต้องลองคุยกันซักตั้งล่ะน่า
ผมค่อนข้างจะรู้จักกูเกิลดีพอสมควร และก็รู้ด้วยว่าการจะได้เข้าทำงานที่นี่มันยากแค่ไหน คุณไม่ใช่แค่ต้องเก่ง มีความสามารถ แต่ต้องเก่งในระดับสุดๆ เลยแหล่ะ แค่เทพยังไม่พอ ต้องโคตรเทพว่างั้น
คงไม่เว่อร์จนเกินไปถ้าจะบอกว่านี่คือความฝันอย่างนึง แม้จะรู้ตัวดีกว่าโอกาสจะได้เข้าไปนั้นมันน้อยจนแทบจะติดดิน .. แต่ใครล่ะจะยอมทิ้งความฝัน ในเมื่อโอกาสเปิดกว้าง อ้าแขนมาให้แล้ว
ในหัวของผมเตรียมเขียน Blog ไว้เลย 3 เรื่อง ..
– ทำไมผมถึงได้สัมภาษณ์กับกูเกิล (ความหลัง)
– ที่กูเกิลเค้าถามอะไรกันบ้างนะ
– ทำไมผมถึงไม่ผ่านสัมภาษณ์ [อันนี้ถ้าไม่ต้องเขียนก็คงจะดี 🙂 ]
โปรดติดตามตอนต่อไป …
Tips:
- กูเกิลมักจะเรียกสัมภาษณ์รอบแรกผ่านทางโทรศัพท์ก่อน โดยจะได้คุยกับ HR เพื่อสกรีนคนในระดับหนึ่ง
- ควรจะเลือกวันเวลาที่เหมาะสมและมากพอ เนื่องจากที่อ่านบล็อกมาบางคนก็ใช้เวลาสัมภาษณ์ 1 ชั่วโมง บางคนก็ 1 ชั่วโมงครึ่ง
:: Sat 15/ 11 / 2008 – ความหลัง ::
เรื่อง มันเกิดหลังจากตอนที่ไปงาน Google DevFest ที่จุฬาเมื่อเดือนก่อน วันนั้นทางกูเกิลก็ให้ลิงก์มาตัวนึงซึ่งเป็นหน้ารับสมัคร Software Engineer ที่ระบุเลยว่าเป็นคนไทย พูดไทยได้ แต่จะต้องไปทำงานที่เซี่ยงไฮ้นะ ด้วยความไม่คิดอะไรก็เลยส่งสมัครไปขำๆ เพราะนานๆทีจะมีตำแหน่งที่ระบุเชื้อชาติไทยลงไปขนาดนั้น
แล้วทำไมกูเกิลถึงส่งเมล์ตอบกลับมา ?
นั่งวิเคราะห์แบบไม่เข้าข้างตัวเอง เป็นข้อๆ
- หน้าเว็บที่รับสมัครอยู่รวมกับกูเกิลจีน ซึ่งถ้าคนทั่วไปจะค้นหาตำแหน่งนี้จะต้องไล่ไปจากหน้ากูเกิลจีนซึ่งเป็นภาษา จีน ลงไปเรื่อยๆ 3 ชั้นถึงจะเจอ เพราะงั้นคิดว่าคนสมัครเลยไม่น่าเยอะ
- ต้องการคนไทยเท่านั้น ข้อนี้ลดคู่แข่งไปได้มากโข
- ผมจบวิศวะคอมฯ ตรงตามเป้าหมายมาก
- ชื่อของ Reuters น่าจะช่วยให้ดูมีความน่าเชื่อถือขึ้น
- ผม ใส่คำพูดบางอย่างที่อยากเขียนมานานใน Resume แต่ไม่กล้าใส่ลงไปเวลาสมัครงานทั่วไป แต่กับกูเกิล คำพูดพวกนี้อาจจะน่าสนใจ เช่น “ผมเล่นคอมฯ มาตั้งแต่อายุ 11 ขวบ จอขาวดำ แผ่นดิสก์ 5 นิ้ว” “โปรแกรมแรกในชีวิตที่ผมเขียนคือโปรแกรมที่ทำให้เปิดเครื่องมาแล้วเข้าไป เกมส์ที่ผมชอบเลยทันที”
- ผมใช้สินค้าของกูเกิลแทบทุกชนิด เข้าแข่ง google code jam รวมไปถึงสมัครเข้างานสัมนา google devfest ล่าสุด .. อันนี้ไม่รู้่ว่าเกี่ยวรึเปล่า แต่ผมเชื่อว่ากูเกิลจะสัมภาษณ์ใคร คงต้องลงค้นหาชื่อคนนั้นในกูเกิลเองซักรอบก่อน
วันนี้ได้อ่านบล็อกของคนที่เคยไปสัมภาษณ์กับกูเกิลมาเยอะเลย แต่ที่ชอบสุดคืออันนี้
Link : http://steve-yegge.blogspot.com/2008/03/get-that-job-at-google.html
Tips:
- วันนึงมีคนส่งใบสมัครไปที่กูเกิลหลายร้อยหลายพันฉบับ การส่งใบสมัครไปควรที่จะตรวจสอบให้ดีว่าน่าสนใจพอรึเปล่า
- ถ้าเรามีกิจกรรมที่เคยทำกับกูเกิลเช่น ได้ลำดับที่ XXX ในการแข่ง Google Code Jam เป็นต้น ก็จะเป็นเรื่องดีมาก
:: Sun 16/ 11 / 2008 – เตรียมตัว + เริ่มจิตตก ::
สองวันหลังจากได้รับ อีเมล์ฉบับนั้น .. ผมเริ่มจิตตก ไม่รู้ตัวว่าจะเริ่มอะไรยังไงดี
บางทีความฝันถ้าเราเข้ามาใกล้มันมากเกินไป มันก็ทำให้เราทำอะไรไม่ถูกไปเหมือนกัน …
หลัง จากตั้งสติได้ ผมเริ่มมองวันเวลาที่น่าจะเหมาะสมในการเตรียมตัวเข้าสัมภาษณ์กับกูเกิล .. กี่วันดีนะ .. อืมๆ ต้องอ่าน computer olympic, math, data structure, algorithm, java, programming practice และเตรียมฝึกภาษาอังกฤษ .. รวมๆแล้วต้องขอเวลาอีกซักปีนึงถึงจะพร้อม
“Hey Googler, Thanks for your interested .. but could you wait for me just a year after ?”
สงสัยคงจะได้ตอบกลับมา
“Ok .. Good bye .. Next please ..” – Googler
ว่าแล้วก็เลยตอบเมล์กลับไปแบบจริงๆจังๆไป สรุปได้วันนัดเป็น 5 วันหลังจากนี้ .. เอาล่า ขโจชิ นายมีเวลา 5 วัน
เราต้องอ่านหนังสือ !!
เป็น สิ่งแรกที่คิดออก .. ว่าแล้วก็ตรงดิ่งไปที่ tk park หาหนังสือดีๆมาอ่าน แล้วก็ได้หนังสือที่ชีวิตนี้ไม่เคยคิดจะแตะมาหลายเล่ม .. ยากๆ ทั้งน๊านนน
Concurrent and Distributed Computing in Java – Vijay K. Garg
Program Construction, Calculation Implementation from Specifications – Ronald Backhouse
คณิตย์ศาสตร์ New SAT – TGRE
English Structure – Recovery
พร้อมได้อ่านบล็อกดีๆอีกหลายที่ .. เค้าว่ากันว่า มีคัมภีร์ดีๆอยู่ใกล้ตัว กันผีได้ดีระดับนึง 55
รู้ กันว่าเวลาสัมภาษณ์กับกูเกิล ลืมคำถามงี่เง่าๆ ไปได้เลย คำถามแปลกๆ โหดๆ ที่ต้องใช้สมองทั้งสองซีก มากกว่าเอาคำตอบแบบมาตรฐานจะประทังเข้ามา .. ไหวพริบคงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็ต้องไปลืมหาความรู้ใส่หัวไว้เยอะๆ เผื่อเจอคำถามเทคนิคโหดๆเข้า
บางทีก็คิดเหมือนกันนะ .. เฮ้ย นี่เราจริงจังเกินไปรึเปล่าเนี่ย ..
แต่ก็มีอีกคำนึงที่ตอบได้ทุกคำถามในทันที ..
“นี่กูเกิลนะเว้ย !!”
Tips:
- HR ของกูเกิลตอบเมล์ไวมาก เพราะงั้นถ้าไม่มีอะไรตอบกลับมาภายใน 1-2 วันก็ควรสอบถามกลับไปว่าได้รับหรือไม่
- ทีมงานกูเกิลใช้ภาษาอังกฤษที่ไม่ยืดยาว ตอบสั้นๆ ได้ใจความ เพราะงั้นไม่ต้องบรรยายอะไรมากมาย บอกไปเลย ขอวันนี้ สะดวกช่วงนี้ แค่นั้นจบ
:: Tue 18 / 11 / 2008 – A Day … before ::
พรุ่งนี้แล้ว …
หลายวันที่ผ่านมาผมนั่งศึกษาตำรา คู่มือ เว็บ และหาข้อมูลบนเน็ตอย่างหนัก .. หลายเรื่องที่ชีวิตนี้ไม่เคยได้ยินมาก่อน ก็ต้องรู้จัก และเข้าใจ จนถึงขนาดต้องเขียนโปรแกรมมันออกมาเพื่อแสดงความหมายของสิ่งนั้นได้
ข้อดีคือ ยิ่งศึกษาเยอะ ก็รู้สึกว่าเรารู้เยอะขึ้นจริงๆ โลกของ Computer Science นี่มันช่างกว้างใหญ่นัก
ข้อเสียคือ เหนื่อยโคตรๆ .. ไม่เคยเหนื่อยสมองขนาดนี้ มันไม่เหมือนกับการอ่านหนังสือไปสอบ เพราะนอกจากเราจะต้องเข้าใจแล้ว ต้องเรียนรู้การนำไปใช้ในชีวิตจริง บางทีต้องพิสูจน์มันออกมาให้ได้เลย
ต้องขอบคุณโลกแห่งอินเตอร์เน็ตจริงๆ ที่อยากรู้อะไรก็สามารถหาได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที .. บางที่อธิบายไม่ดี เราก็ไปอ่านที่อื่นเผื่อจะเข้าใจมากขึ้น บางทีอ่านแล้วยังสงสัยอยู่ก็ไปดูรูปแทนได้
ความรู้ใหม่อีกอย่างนึงก็คือ มีคนที่เคยผ่นประสบการณ์สัมภาษณ์(โหด) กับกูเกิลเยอะมากเหมือนกัน ก็แน่ล่ะบริษัทที่มีพนักงานเขียนโปรแกรมเป็นหมื่นก็ต้องสัมภาษณ์คนหลักแสน แถมยุคนี้ถ้าใครได้ประสบการณ์อย่างนี้กลับมาก็ต้องมาแชร์ในบล็อกไม่ก็บนเว็บบอร์ดกันบ้างแหล่ะ
ขณะ ที่ผมเขียนบล็อกนี้อยู่ ก็ไม่มีใครได้อ่านเหมือนกัน คือเขียน draft ไว้ก่อน เพราะอยากได้อารมณ์สดๆ ความรู้สึกในเวลานั้นๆ ดีกว่ามาเขียนสรุปทีหลังมากโข ..เชื่อว่าอีก 2 ปีกลับมาอ่านคงสนุกไม่ใช่น้อย
มานั่งนับสิ่งที่ผมรู้เพิ่มจากเดิมที่รู้นิดหน่อยๆ หรือความรู้ใหม่ๆในช่วงสองสามวันนี้ดู …
** ถ้าข้อความในบรรทัดหลังจากนี้ ทำให้คุณอ่านแล้วรู้สึกว่า อะไรของมันวะ … ขอแสดงความยินดีด้วย คุณปกติดี
Big-O , Data Structure , anagram , histogram , heap / binary / quick search , merge search , memory management , tcp , udp , python , c++ , google treasure , distributed file system , dfs , bfs , big table , google file systems ฯลฯ
มาวิเคราะห์ดูแล้ว ก็ยังรู้สึกห่างไกลเหลือเกินกับคำว่า Google’s Software Engineer .. แต่ก็เถอะ เราก็ได้พยายามแล้ว
แอบปลอบใจตัวเองว่า รอบแรกในวันพรุ่งนี้คงยังไม่มีอะไรมากไปกว่าการทดสอบเรื่องภาษาอังกฤษ ถามเรื่องงานเล็กๆน้อยๆ ทำไมถึงสนใจจะทำที่กูเกิล .. คาดว่าคงจะยังไม่มีคำถามเชิงเทคนิคมากนัก แต่ถ้าเกิดเค้าโอนสายไปให้ กูเกิลเลอร์ตัวจริงเสียงจริงขึ้นมาก็คงได้ปาดเหงื่อกันเลยทีเดียว
นอนดีกว่า .. เก็บแรงไว้ .. อยากรู้ว่าพรุ่งนี้จะเป็นยังไงนะ .. ถ้ามีใครซักคนสร้างแว่นส่องอนาคตในอีก 12 ชั่วโมงได้ จะรีบไปซื้อเลย …
แต่เอ .. จะว่าไปแล้ว ..อย่าเลยดีกว่า ..
ปล่อยให้ชีวิตพาไป …
Tips:
- กูเกิลขึ้นชื่อว่าเป็นบริษัทGeek โดย Geek และเพื่อ Geek เพราะงั้นตำแหน่ง Software Engineer จึงต้องมีการคัดคนที่เข้มข้นมาก
- การอธิบายอัลกอริธึมจะต้องเจอแน่นอน คำถามแนว Com Sci ก็จะต้องเจอมาก โดยเฉพาะการหาค่าที่ดีที่สุด เร็วที่สุด วิเคราะห์การแก้ปัญหาต่างๆ
- คนที่ไปสัมภาษณ์กับกูเกิลแล้วมาเขียนบล็อกไว้มีเยอะมาก ลอง Search ดูคำถามต่างๆ เผื่อจะช่วยให้เตรียมตัวได้ดีขึ้นมาก
……………………………………………………………………………………………………………………