เมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว ระหว่างที่กำลังนั่งดูวิดีโอเพลินๆ ในเว็บ Youtube ผมไปพบกับวิดีโอนึง ซึ่งเป็นวิดีโอการสอนเลกเชอร์ธรรมดาๆ แต่ที่สะดุดตาคือยอดผู้ชมที่เข้าไปดูมากกว่า 7 ล้านครั้ง (ปัจจุบันยอดเพิ่มเป็น 10 ล้านครั้งเข้าไปแล้ว) แต่ด้วยความที่เวลาของคลิปนี้ยาวนานกว่า 2 ชั่วโมงเลยต้องขอบาย และตั้งใจว่าจะกลับมาดูอีกครั้งนึง
จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้กลับไปดูคลิป นั้นอีกครั้ง แต่กลับได้มาพบกับหนังสือที่มีที่มาจากคลิปนั้นแทน โดยจากคำแนะนำของพี่ชาย หนังสือเล่มนี้มีหน้าปกเหมือนนิทานเด็กเล่มนึง ชื่อ The Last Lecture ซึ่งเป็นเรื่องราวของศาสตราจารย์แรนดี เพาช์ (Randy Pausch) คุณพ่อ ลูก 3 .. ผู้ซึ่งได้รับเชิญไปปาฐกถาหัวข้อ “เลกเชอร์ครั้งสุดท้าย” หรือ “The Last Lecture” ตามธรรมเนียมของศาสตราจารย์ในต่างประเทศ ที่จะได้บรรยายเรื่องอะไรซักอย่างหนึ่งเป็นครั้งสุดท้ายก่อนเกษียณตัวเอง
แต่ สำหรับศจ.แรนดี นี่เป็นการบรรยายครั้งสุดท้ายของเขาจริงๆ เพราะเขาเพิ่งจะได้รับผลการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับอ่อนขั้นสุดท้าย (โรคเดียวกับสตีฟ จอบส์ แต่เป็นหนักกว่ามาก) และจะมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียงไม่กี่เดือน .. แต่แทนที่ศจ.แรนดี จะเลือกใช้เวลาอย่างหดหู่อยู่บนเตียงในรพ. เขากลับเลือกที่จะขอทำสิ่งที่เป็นเหมือนความทรงจำครั้งสุดท้าย เพื่อสร้างแรงบัลดาลใจให้กับทุกคน ภรรยา ลูกๆ รวมไปถึงตัวเขาเองด้วย นั่นคือการปาฐกถาครั้งสุดท้ายให้สำเร็จ
- ถ้าคิดว่าหนังสือเล่มนี้จะเศร้าโคตรๆ .. คิดใหม่ด่วน เพราะอ่านแล้วสนุกมาก และยิ้มตามได้ตลอดเวลา
- สิ่งที่ได้แน่นอนคือแง่คิด ความฝัน มองโลกแง่บวก และแรงบัลดาลใจ .. ขั้นรุนแรง
- แรงแค่ไหน ก็ติด Best Seller ที่อเมริกา 28 สัปดาห์ (ครึ่งปี)
- ศจ.แรนดี ได้รับเลือกเป็น 100 บุคคลที่สร้างแรงบัลดาลใจแห่งปีจาก Time Magazine
- ปัจจุบัน ศจ.แรนดี เสียชีวิตแล้วอย่างสงบ เมื่อเดือนก.ค. ปี 2008
ใครที่กำลังขาดแรงบัลดาลใจ หรือกำลังเหนื่อย หดหู่ เศร้า เหงา .. กรุณาหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านด่วน
Note : ส่วนตัวเอง วันนี้ก็ได้ฟัง Last Lecture แบบไม่ทันตั้งตัวโดย ศจ. Patrick Georges ซึ่งบรรยายได้สนุกมากจนหลับกันค่อนห้อง
Note2 : ไม่เกี่ยวกับหนังสือ แต่ได้ความรู้ใหม่ว่า ถ้าอ่านหนังสือบอลแล้วเจอว่าบอลเตะตี 1 วันที่ 17 Aug หมายถึงบอลเตะคืนวันที่ 17 Aug .. แต่ถ้าเป็นตั๋วเครื่องบืน 0110 17 Aug หมายถึงคืนวันที่ 16 หรือเช้าตี 1 วันที่ 17 -_-“